รู้จักปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย เทคโนโลยีเด็ด! เพิ่มคุณภาพให้พืชผล

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปุ๋ยไนโตรเจนหรือปุ๋ยยูเรียนั้น เป็นปุ๋ยที่มีความสำคัญกับการเจริญเติบโต  ทำให้พืชผลต้องการในปริมาณที่สูงมาก แต่ธาตุอาหารไนโตรเจนในดิน มักมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ทำให้พี่น้องเกษตรกรจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่ม ซึ่งมักจะถูกสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูกชะล้างออกไป ก่อนที่พืชจะใช้ได้หมด ทำให้พืชผลไม่สามารถดูดซึมธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมีมาใช้ได้อย่างเต็มที่ จนส่งผลต่อต้นทุนและคุณภาพของผลผลิต ด้วยเหตุผลนี้เอง จึงมีการคิดค้นเทคโนโลยีที่เรียกว่า ‘ปุ๋ยควบคุมการปลอดปล่อย’  (Controlled Release Fertilizer) ที่มีความพิเศษในด้านการปล่อยธาตุอาหารได้ตามช่วงเวลาที่ต้องการขึ้นมา พี่น้องเกษตรกรท่านใดที่อยากเซฟต้นทุน เพิ่มคุณภาพของผลผลิต ห้ามพลาดทำความรู้จักกับเทคโนโลยีปุ๋ย CRF เลยนะครับ

ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย หรือ ปุ๋ย CRF (Controlled Release Fertilizer)

คือ เม็ดปุ๋ยที่ถูกเคลือบด้วยสารพอลิเมอร์ (Polymer Coating) ที่มีรูพรุนขนาดเล็กสามารถยืดหยุ่นได้ เพื่อปิดเปิดรับความชื้น ทำให้ธาตุอาหารในปุ๋ย สามารถละลายได้อย่างช้าๆ จึงทำให้เพียงพอกับความต้องการของพืชผลตลอดเวลา โดยอยู่ในปริมาณที่ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพให้ผลผลิตได้อีกทางหนึ่ง

ปุ๋ย CRF มีกลไกการทำงาน คือ ปริมาณการปล่อยธาตุอาหารจะถูกควบคุมโดยความชื้นในดิน และอัตราเร่งการปล่อยธาตุอาหารจะถูกควบคุมโดยอุณหภูมิภายในดิน ยกตัวอย่างเช่น อัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ยละลายในดินที่มีอุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส จะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน แต่ถ้าอุณหภูมิในดินประมาณ 30 องศาเซลเซียส จะทําให้การปลดปล่อยเร็วขึ้น ระยะเวลาการปลดปล่อยธาตุอาหารจะสั้นลง ทําให้ปุ๋ยปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เป็นระยะเวลาประมาณ 2-2.5 เดือน

โดยปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย จะมี 3 ระยะในการละลายธาตุอาหาร (ตามหลักการแพร่) คือ

ระยะ 1 : น้ำจะผ่านชั้นสารพอลิเมอร์เคลือบซึมเข้าสู่เม็ดปุ๋ย

ระยะ 2 : น้ำที่เข้าไปจะละลายอยู่ภายในสารเคลือบ

ระยะ 3 : เป็นระยะสุดท้าย ปุ๋ยที่ละลายจะเกิดแรงดันภายใน ทำให้เกิดการปลดปล่อยธาตุอาหารโดยการแพร่

ข้อดีของการใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย คือ ทำให้สามารถลดการสูญเสีย จากการปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ พืชจะสามารถใช้งานได้จนหมด ไม่หลงเหลือสารตกค้างที่เกินความต้องการของพืช ซึ่งถือเป็นการดูดซึมธาตุอาหารที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งโพลิเมอร์ที่ใช้เป็นสารเคลือบก็สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ทำให้เกิดปัญหาดินเค็มด้วย ที่สำคัญยังเป็นการลดต้นทุนรวมในการปลูกพืชผล ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านแรงงานและเวลาในการเพาะปลูก

อยากประหยัดเวลา แรงงานคน แถมยังช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตแบบระยะยาว เปลี่ยนมาใช้ โดรนเกษตรรุ่นใหญ่ DJI AGRAS T30  หว่านพ่นปุ๋ย รับรองความรวดเร็วและแม่นยำ แปลงปลูกใหญ่แค่ไหนก็ดูแลได้อย่างทั่วถึง ด้วยความเร็ว 75-100 ไร่/ชม. ที่มาพร้อมความจุถังใส่น้ำยาถึง 30 ลิตร บอกเลยว่ามีโดรนเกษตรตัวนี้ตัวเดียว รับรองเอาอยู่แน่นอนครับ

– รองรับถังน้ำยาได้สูงสุด 30 ลิตร จัดเต็ม 16 หัวฉีด พร้อมปั๊มแรงดันสูงแบบใหม่ 2 ตัว ฉีดพ่นเร็ว 8 ลิตร/ นาที

– มาตรวัดปริมาณน้ำแบบใหม่ แม่นยำ พร้อมคำนวณจุดน้ำหมดและระยะทางกลับที่ใกล้ที่สุดเพื่อประหยัดแบตเตอรี่

– หัวพ่นปรับองศาได้ เหมาะสำหรับฉีดพ่นไม้ผล ละอองสเปรย์กระจายทั่วถึง แม้กระทั่งใต้ใบหรือลำต้น

– ใช้งานร่วมกับ Phantom 4 RTK เพื่อวางแผนการบินผ่านสมาร์ตโฟนได้  โดยจัดการเส้นทางการบินในรูปแบบแผนที่สามมิติ ช่วยสร้างเส้นทางการบินที่แม่นยำ

– กันน้ำกันฝุ่นได้ ในระดับ IP67 หมดกังวลกับปัญหาฝุ่นเข้าและน้ำยากัดกร่อน สามารถล้างทำความสะอาดด้วยน้ำได้โดยตรงทั้งลำ

– ดีไซน์พับเก็บได้ ลดการใช้พื้นที่ 80% มาพร้อมชุดพับแขนออกแบบใหม่ ใช้งานง่าย และปลอดภัย

– กล้อง FPV ด้านหน้า-หลัง พร้อมไฟสปอร์ตไลท์ส่องสว่าง ช่วยให้ผู้ใช้งานดูวิดีโอถ่ายทอดสด จากกล้องความละเอียดสูงผ่านหน้าจอบนรีโมตฯ ได้ทันที

– เรดาร์ทรงกลม กันชนได้รอบทิศทาง สามารถบินหลบหลีกสิ่งกีดขวางให้อัตโนมัติ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานได้เต็มที่

– แบตเตอรี่รุ่นใหม่ ความจุ 29,000 mAh ชาร์จได้ถึง 1,000 รอบ และรองรับการชาร์จเร็วภายใน 10 นาที

– ถังหว่านเมล็ด ความจุ 35 ลิตร รองรับการใส่ปุ๋ยที่หลากหลาย และการหว่านมีความแม่นยำมากขึ้น ช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าเดิม

==============================

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลและโปรโมชั่นเพิ่มเติม ได้ที่ DJI Phantom Thailand ยินดีให้บริการครับ

Inbox: http://m.me/115022916869194

LINE: http://line.me/ti/p/~@phantomthailand

Phone: 02-026-3807

[email protected]

ขอบคุณข้อมูลจาก

ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย ด้วยนาโนเทคโนโลยี | สวก.

มิตรชาวไร่ ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 256 – หน้า 32

ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยยูเรียเพื่อประยุกต์ใช้ในทางเกษตรกรรม

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

  • 1 Sep 2023

    3 เทคนิค ใส่ปุ๋ยอ้อยให้ได้ประสิทธิภาพ คุ้มเงินทุน เพิ่มพูนผลผลิต

    อ้อย ถือเป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เพราะถือเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลทราย และพลังงานทดแทน จึงสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาลทั้งในประเทศและการส่งออก ด้วยเหตุนี้ จึงมีพี่น้องเกษตรกรให้ความสำคัญกับการปลูกอ้อยกันอย่างแพร่หลาย วันนี้เราจึงมีเทคนิคการใส่ปุ๋ยอ้อยให้เกิดประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตสูงสุดมาฝากกันครับ รับรองว่าทำตามนี้ผลผลิตดีแน่นอน! เทคนิคการใส่ปุ๋ยอ้อยให้คุ้มเงินลงทุน […]

  • 1 Sep 2023

    ชาวสวนมะม่วงต้องระวัง! 3 ศัตรูพืชตัวร้าย จ้องทำลายผลผลิต

    อยากปลูกมะม่วงให้ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ นอกจากการใส่ใจในเรื่องคัดเลือกต้นพันธุ์ ขั้นตอนการปลูกที่ถูกต้อง ไปจนถึงวิธีการบำรุงดูแลอย่างการรดน้ำใส่ปุ๋ยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การกำจัดศัตรูพืชที่มักก่อให้เกิดความเสียหายกับสวนมะม่วงของเรา วันนี้เราจึงจะพาพี่น้องเกษตรกรชาวสวนมะม่วงไปรู้จักกับวิธีปราบ 3 ศัตรูพืชที่คอยจ้องเข้ามาทำลายผลมะม่วงของเรากันครับ […]

  • 1 Sep 2023

    เคล็ดลับใช้ปุ๋ยเคมี ให้เต็มประสิทธิภาพ เซฟตังค์ ผลผลิตปังทั้งสวน

    ในปัจจุบันพี่น้องเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีในพื้นที่การเกษตรเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่อาจยังไม่เข้าใจเรื่องปุ๋ยเคมีที่ใช้เพื่อการบำรุงผลผลิต จึงมักใส่ปุ๋ยสูตรสำเร็จตามคำแนะนำของผู้ขายปุ๋ย ซึ่งนอกจากจะไม่ตรงกับความต้องการของพืชผลที่ปลูกแล้ว ยังทำให้พี่น้องเกษตรกรมีต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ดังนั้นหากไม่อยากเสียเงิน เสียเวลา มาลองทำตามเคล็ดลับที่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงในการใช้ปุ๋ยเคมีตามบทความนี้กันดูนะครับ 1. ใส่ปุ๋ยให้ถูกสูตร […]

  • 1 Sep 2023

    แนะนำ 4 พันธุ์ทุเรียนไทย ปลูกส่งออก รุ่งแน่นอน!

    ในช่วง 7 ปีมานี้ ทุเรียนถือเป็นผลไม้ที่ครองมูลค่าการส่งออกแซงหน้าประเภทอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ทุบสถิติรายเดือนสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 934.9 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ […]