รู้ทัน! โรคไหม้ข้าว โรคร้ายประจำแปลงนา

ช่วงฝนตกชุกแบบนี้ พี่น้องชาวนาทุกท่านต้องเพิ่มการดูแลและสำรวจแปลงนาให้ดีเลยนะครับโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผู้ที่ปลูกข้าวนาปรัง หรือนาน้ำฝน เพราะมีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคไหม้ข้าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตโดยตรง วันนี้เราจะพาไปรู้ทันเจ้าโรคไหม้ข้าวกันครับ ว่าคือโรคอะไร และสามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง
โรคไหม้ข้าว (Rice Blast Disease) ถือเป็นการระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา Pyricularia oryzae ซึ่งสามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต และทุกส่วนของต้นข้าวที่อยู่เหนือดิน ซึ่งเกิดจาก 4 สาเหตุหลัก ดังนี้
1. ใช้พันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ ง่ายต่อการเข้าทำลายของโรค
2. ใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราสูงเกินไปในแต่ละแปลงนา ทำให้ต้นข้าวหนาแน่นจนอับลม ไม่มีทางระบายอากาศ จนกลายเป็นแหล่งสะสมของโรค
3. สภาพอากาศแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อราต้นตอ
4. ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินความจำเป็น ทำให้ต้นข้าวเติบโตหนาแน่นเกินไป รวมถึงต้นอวบน้ำ ลำต้นไม่แข็งแรง
ลักษณะอาการของโรคไหม้ข้าว
ระยะกล้า : ใบมีแผลเป็นจุด โดยมีขอบสีน้ำตาลคล้ายรูปตา และมีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรง กล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้
ระยะแตกกอ : อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ส่วนใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ
ระยะออกรวง (โรคไหม้คอรวง) : ข้าวที่เริ่มให้รวง เมล็ดจะลีบ แต่หากเป็นโรคช่วงรวงข้าวใกล้เกี่ยวจะเกิดรอยแผลช้ำ สีน้ำตาลบริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหาย
การป้องกันและกำจัดโรคไหม้ข้าว
1. หมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากพบอาการของโรคไหม้ข้าว ให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตราส่วน 1 ก.ก. ต่อน้ำ 80-100 ลิตร พ่นในพื้นที่นาข้าว 1 ไร่ ทุก 10-15 วัน ในช่วงเช้าหรือเย็น และหลีกเลี่ยงช่วงที่มีแสงแดด
2. หากพบการระบาดรุนแรง ควรพ่นด้วยสารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรโซคลาโซน คาร์เบนดาซิม โดยปฎิบัติตามคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์
3. เลือกใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานต่อโรคไหม้ข้าว เช่น พันธุ์กข5 กข11 กข27 กข33 (หอมอุบล80) กข37 กข41 กข43 กข47 ชัยนาท1 สันป่าตอง1 สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี2 สุพรรณบุรี3 สุพรรณบุรี60 สุพรรณบุรี90 คลองหลวง1 ปทุมธานี1 หรือ พันธุ์พิษณุโลก60-2
4. คลุกเมล็ดพันธุ์ข้าว 1 ก.ก. ต่อเชื้อราไตรโคเดอร์มา 10 ก.ผสมน้ำ 10 ม.ล. หรือแช่เมล็ดข้าว 100 ก.ก. (ที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว 1-2 วัน) กับเชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 ก.ก. ผสมน้ำ 100 ล. เป็นเวลา 30 นาที ก่อนนำไปหว่าน
5. หว่านเมล็ดข้าว 15-20 ก.ก. ต่อไร่ เพื่อให้แปลงนาสามารถถ่ายเทอากาศได้ดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินความจำเป็น
อยากให้แปลงนาที่เรารักปลอดภัยจากการระบาดของโรคไหม้ข้าว อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดนะครับ และสำหรับพี่น้องชาวนาท่านใดที่อยากให้แปลงนามีการถ่ายเทอากาศที่ดี ต้องนี่เลย! โดรนเกษตรรุ่นใหญ่ DJI AGRAS T30 ที่มีความแม่นยำในการหว่านสูง ช่วยให้แปลงนาสวย ต้นข้าวไม่เบียดกันแน่น ลดโอกาสเกิดการระบาดของโรคไหม้ข้าว แถมยังพ่นปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วอีกด้วย บอกเลยว่ามีโดรนเกษตรตัวนี้ตัวเดียว รับรองเอาอยู่แน่นอนครับ!
– รองรับถังน้ำยาได้สูงสุด 30 ลิตร จัดเต็ม 16 หัวฉีด พร้อมปั๊มแรงดันสูงแบบใหม่ 2 ตัว ฉีดพ่นเร็ว 8 ลิตร/ นาที
– มาตรวัดปริมาณน้ำแบบใหม่ แม่นยำ พร้อมคำนวณจุดน้ำหมดและระยะทางกลับที่ใกล้ที่สุดเพื่อประหยัดแบตเตอรี่
– หัวพ่นปรับองศาได้ เหมาะสำหรับฉีดพ่นไม้ผล ละอองสเปรย์กระจายทั่วถึง แม้กระทั่งใต้ใบหรือลำต้น
– ใช้งานร่วมกับ Phantom 4 RTK เพื่อวางแผนการบินผ่านสมาร์ตโฟนได้ โดยจัดการเส้นทางการบินในรูปแบบแผนที่สามมิติ ช่วยสร้างเส้นทางการบินที่แม่นยำ
– กันน้ำกันฝุ่นได้ ในระดับ IP67 หมดกังวลกับปัญหาฝุ่นเข้าและน้ำยากัดกร่อน สามารถล้างทำความสะอาดด้วยน้ำได้โดยตรงทั้งลำ
– ดีไซน์พับเก็บได้ ลดการใช้พื้นที่ 80% มาพร้อมชุดพับแขนออกแบบใหม่ ใช้งานง่าย และปลอดภัย
– กล้อง FPV ด้านหน้า-หลัง พร้อมไฟสปอร์ตไลท์ส่องสว่าง ช่วยให้ผู้ใช้งานดูวิดีโอถ่ายทอดสด จากกล้องความละเอียดสูงผ่านหน้าจอบนรีโมตฯ ได้ทันที
– เรดาร์ทรงกลม กันชนได้รอบทิศทาง สามารถบินหลบหลีกสิ่งกีดขวางให้อัตโนมัติ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานได้เต็มที่
– แบตเตอรี่รุ่นใหม่ ความจุ 29,000 mAh ชาร์จได้ถึง 1,000 รอบ และรองรับการชาร์จเร็วภายใน 10 นาที
– ถังหว่านเมล็ด ความจุ 35 ลิตร รองรับการใส่ปุ๋ยที่หลากหลาย และการหว่านมีความแม่นยำมากขึ้น ช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าเดิม
==============================
สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลและโปรโมชั่นเพิ่มเติม ได้ที่ DJI Phantom Thailand ยินดีให้บริการครับ
Inbox: http://m.me/115022916869194
LINE: http://line.me/ti/p/~@phantomthailand
Phone: 02-026-3807
ขอบคุณข้อมูลจาก
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ระวังโรคไหม้ข้าว ระยะคอรวง หมั่นสำรวจแปลง รู้ทันก่อนเกิดโรค
สินค้าที่เกี่ยวข้อง