เคล็ดลับเกษตรกรยุคใหม่
เคล็ดลับใช้ปุ๋ยเคมี ให้เต็มประสิทธิภาพ เซฟตังค์ ผลผลิตปังทั้งสวน
ในปัจจุบันพี่น้องเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีในพื้นที่การเกษตรเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่อาจยังไม่เข้าใจเรื่องปุ๋ยเคมีที่ใช้เพื่อการบำรุงผลผลิต จึงมักใส่ปุ๋ยสูตรสำเร็จตามคำแนะนำของผู้ขายปุ๋ย ซึ่งนอกจากจะไม่ตรงกับความต้องการของพืชผลที่ปลูกแล้ว ยังทำให้พี่น้องเกษตรกรมีต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมีที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ดังนั้นหากไม่อยากเสียเงิน เสียเวลา มาลองทำตามเคล็ดลับที่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงในการใช้ปุ๋ยเคมีตามบทความนี้กันดูนะครับ
1. ใส่ปุ๋ยให้ถูกสูตร
สูตรปุ๋ย หรือบางพื้นที่ก็เรียกเกรดปุ๋ย หมายถึง ตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหาร ที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่าเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (N) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2 O5) และปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (K2O) สูตรปุ๋ยจะเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุปุ๋ยอย่างชัดเจน เช่น 20-10-5 ตัวเลขแรกจะบอกปริมาณไนโตรเจนว่ามีอยู่หนัก 20 กิโลกรัม เลขที่สองบอกปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีอยู่ 10 กิโลกรัม เลขตัวที่สามบอกปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ มีอยู่ 5 กิโลกรัม รวมเป็นธาตุ อาหารทั้งหมด 35 กิโลกรัม ในปุ๋ยหนัก 100 กิโลกรัม และเป็นที่ทราบกันดีว่า เลขตัวแรก คือไนโตรเจน ตัวกลาง คือ ฟอสฟอรัส ตัวสุดท้าย คือ โพแทสเซียม จะไม่มีการสลับที่กัน จึงไม่จำเป็นต้องเขียนตัวหนังสือกำกับไว้ ทั้งนี้จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตรงตามที่พืชต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของพืช ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และภูมิอากาศ
2. ใส่ปุ๋ยให้ถูกอัตรา
ปริมาณปุ๋ยที่ถูกอัตราในที่นี้ หมายถึง ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ต่อไร่ หรือต่อต้น โดยแบ่งออกเป็นอยู่ 2 ลักษณะ คือ
2.1 ถูกอัตราในแง่ของปริมาณที่พืชควรจะได้รับ เพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด
ถ้าน้อยกว่าปริมาณที่ควรได้รับ ก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโต และให้ผลิตผลสูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินไป ก็อาจส่งผลให้พืชผลเกิดความผิดปกติ และทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
2.2 ถูกอัตราในแง่ของหลักเศรษฐกิจ เพื่อให้คุ้มต้นทุน
การคำนวณปริมาณของปุ๋ยที่จะใช้อย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากราคาของปุ๋ย และราคาของผลิตผลที่จะขายได้ ร่วมกับปัจจัยต่างๆ เกี่ยวกับพืชที่เลือกปลูก เช่น ชนิดของพืช ระดับความชื้น และความอุดมสมบูรณ์เดิมของดิน วิธีการปลูก การดูแล รวมถึงการบำรุงรักษาของพี่น้องเกษตรกร เพื่อให้การใช้ปุ๋ยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และมีจำนวนพอเหมาะกับต้นทุน รวมทั้งกำไรที่จะได้รับจากการขายผลผลิต
3.ใส่ปุ๋ยให้ถูกเวลา
พืชแต่ละชนิด มีจังหวะและช่วงเวลาที่ต้องการธาตุอาหารแตกต่างกันออกไป ดังนั้นพี่น้องเกษตรกรจึงควรแบ่งการใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมตรงกับช่วงที่พืชผลของเราต้องการ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงเด่นๆ คือ ช่วงแรกที่พืชเริ่มงอก ช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และช่วงที่มีการเติบโตเต็มที่แล้ว เพื่อให้ปุ๋ยสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และช่วยให้พืชได้รับสารอาหารที่เพียงพอกับความต้องการมากที่สุด
มีเคล็ดลับดีๆ ในการเลือกปุ๋ยให้กับพืชผลแล้ว อย่าลืม! ตัวช่วยเพื่อการหว่านปุ๋ยอย่างตรงจุดยิ่งขึ้น อย่าง โดรนเกษตรรุ่นใหญ่ DJI AGRAS T30 หว่านเร็ว! หว่านไว! ลุยได้ทั้งเรือกสวนไร่นาด้วยความเร็ว 75-100 ไร่/ชม. ประหยัดทั้งเงินและเวลา แถมยังช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับพื้นที่ทำกินของเราได้ด้วยครับ
– รองรับถังน้ำยาได้สูงสุด 30 ลิตร จัดเต็ม 16 หัวฉีด พร้อมปั๊มแรงดันสูงแบบใหม่ 2 ตัว ฉีดพ่นเร็ว 8 ลิตร/ นาที
– มาตรวัดปริมาณน้ำแบบใหม่ แม่นยำ พร้อมคำนวณจุดน้ำหมดและระยะทางกลับที่ใกล้ที่สุดเพื่อประหยัดแบตเตอรี่
– หัวพ่นปรับองศาได้ เหมาะสำหรับฉีดพ่นไม้ผล ละอองสเปรย์กระจายทั่วถึง แม้กระทั่งใต้ใบหรือลำต้น
– ใช้งานร่วมกับ Phantom 4 RTK เพื่อวางแผนการบินผ่านสมาร์ตโฟนได้ โดยจัดการเส้นทางการบินในรูปแบบแผนที่สามมิติ ช่วยสร้างเส้นทางการบินที่แม่นยำ
– กันน้ำกันฝุ่นได้ ในระดับ IP67 หมดกังวลกับปัญหาฝุ่นเข้าและน้ำยากัดกร่อน สามารถล้างทำความสะอาดด้วยน้ำได้โดยตรงทั้งลำ
– ดีไซน์พับเก็บได้ ลดการใช้พื้นที่ 80% มาพร้อมชุดพับแขนออกแบบใหม่ ใช้งานง่าย และปลอดภัย
– กล้อง FPV ด้านหน้า-หลัง พร้อมไฟสปอร์ตไลท์ส่องสว่าง ช่วยให้ผู้ใช้งานดูวิดีโอถ่ายทอดสด จากกล้องความละเอียดสูงผ่านหน้าจอบนรีโมตฯ ได้ทันที
– เรดาร์ทรงกลม กันชนได้รอบทิศทาง สามารถบินหลบหลีกสิ่งกีดขวางให้อัตโนมัติ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานได้เต็มที่
– แบตเตอรี่รุ่นใหม่ ความจุ 29,000 mAh ชาร์จได้ถึง 1,000 รอบ และรองรับการชาร์จเร็วภายใน 10 นาที
– ถังหว่านเมล็ด ความจุ 35 ลิตร รองรับการใส่ปุ๋ยที่หลากหลาย และการหว่านมีความแม่นยำมากขึ้น ช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าเดิม
==============================
สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลและโปรโมชั่นเพิ่มเติม ได้ที่ DJI Phantom Thailand ยินดีให้บริการครับ
Inbox: http://m.me/115022916869194
LINE: http://line.me/ti/p/[email protected]
Phone: 02-026-3807
ขอบคุณข้อมูลจาก
การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อลดต้นทุนการผลิต